- Thu, 21 November 2024
เทศบาลตำบลชำฆ้อ ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
เทศบาลตำบลชำฆ้อ ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554 เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชำฆ้อ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ครั้งแรกที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลชำฆ้อ ใช้สถานที่ศาลาประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกชำฆ้อ หมู่ที่ 3 เป็นที่ทำการชั่วคราว ต่อมาได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินบริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลชำฆ้อ เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา และได้ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 โดยงบพัฒนาจังหวัดในวงเงิน 400,000 บาท และโดยใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลชำฆ้อ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 และได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ ที่ทำการใหม่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2543 จนถึงปัจจุบัน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1) ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลตำบลชำฆ้อ เลขที่ 209/1 หมู่ที่ 2 ถนนอู่ทอง-ชำฆ้อ ตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
2) เนื้อที่ เทศบาลตำบลชำฆ้อ มีพื้นที่โดยประมาณ 65,577 ไร่ หรือ โดยประมาณ 104.92 ตารางกิโลเมตร
3) แผนที่ตั้งและอาณาเขตตำบล สภาพพื้นที่ทั่วไปของตำบลชำฆ้อจะเป็นที่ราบเชิงเขา มีต้นน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน คือคลองโพล้ พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร และบางส่วนมีเอกสารสิทธิ ดังนี้
ทิศเหนือ – มีบริเวณพื้นที่ติดกับตำบลเขาน้อย
ทิศใต้ – มีบริเวณพื้นที่ติดกับตำบลบ้านนา อำเภอแกลง
ทิศตะวันออก – มีบริเวณพื้นที่ติดกับตำบลห้วยทับมอญและตำบลน้ำเป็น
ทิศตะวันตก – มีบริเวณพื้นที่ติดกับตำบลกระแสบน อำเภอแกลง
ระยะห่างจากอำเภอเขาชะเมา ประมาณ 7 กิโลเมตร
ระยะห่างจากจังหวัดระยอง ประมาณ 90 กิโลเมตร
4) ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลชำฆ้อมีพื้นที่เป็นที่ดอน มีพื้นที่บางส่วนที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เหมาะแก่การเพาะปลูก มีไม่แม่น้ำไหลผ่านตำบลชำฆ้อ สภาพลำคลองโพล้ในฤดูแล้งน้ำในลำคลองจะแห้งขอด
5) สภาพภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝนจากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวจากเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ฤดูร้อน จากเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
เทศบาลตำบลชำฆ้อ ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554 เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชำฆ้อ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
ผู้ใหญ่บ้าน นางสาวมะลิ แดงทำดี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผปค.) นายมะนู สอนทอง
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผปค.) นายกรกต จันทร์พราม
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผรส.) นายสุเทพ สังข์ทอง
ประชากรบ้านศรีประชา
1. ประชากรทั้งหมด 838 คน
1. เพศชาย 394 คน
2. เพศหญิง 444 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 373 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 11 แห่ง
2. ร้านซ่อมรถยนต์ / จักรยานยนต์ 3 แห่ง
3. เล้าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 1 แห่ง
4. ร้านเสริมสวย / ตัดผม 2 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายณัฐสิริพล จันทร์ยิ้ม
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผปค.) นางเสาวลักษณ์ อรัญวงค์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผปค.) นางสาวรัฐวีกานต์ ยินดี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผรส.) นายคมสัน ภัคดีงาม
ประชากรบ้านคลองโพล้
1. ประชากรทั้งหมด 838 คน
1. เพศชาย 394 คน
2. เพศหญิง 444 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 373 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 11 แห่ง
2. ร้านซ่อมรถยนต์ / จักรยานยนต์ 3 แห่ง
3. เล้าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 1 แห่ง
4. ร้านเสริมสวย / ตัดผม 2 แห่ง
5. ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง
6. เผาถ่าน 1 แห่ง
กำนันตำบลชำฆ้อ นายพิเชษฐ์ ศรีเพ็ชร
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายวิทยา อุประทุม
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผปค.) นางสาวสำรวย วงศ์สูง
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผรส.) นายระนอง ยินดี
สารวัตรกำนัน(หมู่2) นายราเชนทร์ เจริญมงคล
สารวัตรกำนัน(หมู่1) นายสุริยา แทนทด
ประชากรบ้านชำฆ้อ
1. ประชากรทั้งหมด 844 คน
1. เพศชาย 429 คน
2. เพศหญิง 415 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 389 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 4 แห่ง
2. ร้านซ่อมรถยนต์ / จักรยานยนต์ 4 แห่ง
3. เล้าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 2 แห่ง
4. ร้านเสริมสวย / ตัดผม 1 แห่ง
5. รับซื้อขี้ยาง / น้ำยาง / ลานคอนกรีต 1 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายทวีศักดิ์ ศิลารักษ์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายสัญชัย หมั่นภัคดี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นางสาวนภาพร กาญบุตร
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผรส.) นายประสิทธชัย ศรีเมฆ
แพทย์ประจำตำบล (หมู่5) นายสุริยา สี่สี
ประชากรบ้านคลองโพล้
1. ประชากรทั้งหมด 545 คน
1. เพศชาย 280 คน
2. เพศหญิง 265 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 270 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 3 แห่ง
2. เล้าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 1 แห่ง
3. ห้องเช่า / บ้านเช่า / ที่พัก 1 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายโกวิท โสภา
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นางสาวมัทรี บุญพลอย
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายมานิตย์ พูพวงจันทร์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผรส.) นายเพ็รชรัตน์ นิตยลาภ
ประชากรบ้านสวนขนุน
1. ประชากรทั้งหมด 1,033 คน
1. เพศชาย 534 คน
2. เพศหญิง 499 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 418 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 6 แห่ง
2. ห้องเช่า / บ้านเช่า / ที่พัก 2 แห่ง
3. เล่าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 1 แห่ง
4. รับซื้อขี้ยาง / น้ำยาง / ลานคอนกรีต 2 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายเจียม โพธิ์แก้ว
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายสรุศักดิ์ องอาจ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายดุษฎี พลอาจ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผรส.) นายอมร วงศ์ต่าย
ประชากรบ้านโป่งสะท้อน
1. ประชากรทั้งหมด 719 คน
1. เพศชาย 356 คน
2. เพศหญิง 499 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 418 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 4 แห่ง
2. ห้องเช่า / บ้านเช่า / ที่พัก 1 แห่ง
3. เล่าสุกร / ไก่ / เป็ด / สัตว์ / ชำแหละ 3 แห่ง
4. ซื้อ – ขาย ของเก่า 3 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายอนุชิต เทศเลิศ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นางกนกวรรณ ทำมาน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นายวรพล คร้ามบุญลือ
ประชากรบ้านสี่แยกเนินสมบูรณ์
1. ประชากรทั้งหมด 246 คน
1. เพศชาย 121 คน
2. เพศหญิง 125 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 230 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 4 แห่ง
2. ห้องเช่า / บ้านเช่า / ที่พัก 2 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นางสาวปาริชาติ วงศ์ล้อม
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) นางสาวโสภา บุญช่วย
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.)
ประชากรบ้านหนองปลาไหล
1. ประชากรทั้งหมด 711 คน
1. เพศชาย 339 คน
2. เพศหญิง 372 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 273 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ห้องเช่า / บ้านเช่า / ที่พัก 2 แห่ง
ผู้ใหญ่บ้าน นายสิงห์หา ปลื้มผล
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผปค.) ว่าที่ ร.ต.หญิงพรปวีณ์ พงษ์สุข
ผู้ช่วยผู้ใหญบ้าน (ผปค.)
ผู้ช่วยผู้ใหญบ้าน (ผรส.) นายอภิวัฒน์ ผัดโน
ประชากรบ้านเขาบ่อแป้ง
1. ประชากรทั้งหมด 380 คน
1. เพศชาย 189 คน
2. เพศหญิง 191 คน
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 145 หลังคาเรือน
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลชำฆ้อ
1. ร้านขายของชำ / ร้านค้า 2 แห่ง
2. ร้านซ่อมรถยนต์ / จักรยานยนต์ 1 แห่ง
3. รับซื้อขี้ยาง / น้ำยาง / ลานคอนกรีต 1 แห่ง
4. เผาถ่าน 2 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
1) การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ยางพารา) เมื่อว่างงานจากกรีดยางแล้วก็จะว่างงาน เนื่องจากสภาพพื้นที่แห้งแล้ง จึงไม่สามารถทำอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเกษตรได้อีกบางส่วนจะอพยพไปใช้แรงงานในเมือง
ตำบลชำฆ้อโดยทั่วไปจะเป็นสังคมเกษตร มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน คือ มีความเรียบง่ายใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ค่อยมีการแข่งขันทำให้ชาวบ้านตำบลชำฆ้อ แห่งนี้มีการพึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา สภาพเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพกรีดยางพารา ส่วนที่เหลือเป็น อาชีพค้าขาย รับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ทำสวน และรับราชการ จึงทำให้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลแห่งนี้ พื้นที่ทุกหมู่บ้าน ปลูกทุเรียน มังคุด บางส่วน เป็นต้น
ประชากรส่วนใหญ่ เมื่อว่างงานจากฤดูกาลว่างงาน เนื่องจากสภาพพื้นที่แห้งแล้ง จึงไม่สามารถทำอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเกษตรได้ทั้งหมด ซึ่งมีบางส่วนไปทำงานนอกหมู่บ้าน เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ส่วนในหมู่บ้านที่มีอาชีพเสริม ได้แก่ เย็บผ้า ปลูกผัก และค้าขายตามตลาดเคลื่อนที่
วิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่ม
สภาพทางสังคม
1) การศึกษา
ก. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง ดังนี้
(1) โรงเรียนบ้านศรีประช หมู่ที่ 1
(2) โรงเรียนบ้านชำฆ้อ หมู่ที่ 3
(3) โรงเรียนบ้านเขาช่องลม หมู่ที่ 4
ข. โรงเรียนมัธยมขยายโอกาส 1 แห่ง ดังนี้
(1) โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม หมู่ที่ 3
ค. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 1 แห่ง
(1) ศูนย์( กศน.)ประจำตำบลชำฆ้อ หมู่ที่ 2
ง. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง สังกัดเทศบาลตำบลชำฆ้อ
(1.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชำฆ้อ หมู่ 3
(2.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีประชา หมู่ 1
2) แหล่งความรู้ของชุมชน
3) สถาบันและองค์กรทางศาสนา ประชาชนทั้งหมดของตำบลชำฆ้อ นับถือศาสนาพุทธ โดยมีสถาบันและองค์กรทางศาสนา วัดในพื้นที่
3.1 วัด มีจำนวนทั้งหมด 3 แห่ง
3.2 สำนักสงฆ์ มีทั้งหมด 4 แห่ง
4) สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำฆ้อ 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 มีเจ้าหน้าที่ 4 คน คือ
1.ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข (ผู้อำนวยการรพ.สต.ชำฆ้อ) 1 คน
2.ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ 1 คน
3.ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุข 2 คน
แพทย์ประจำตำบล คือ นายอร่าม เกตุษา ประจำหมู่ที่ 5
อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลชำฆ้อ (อสม.) จำนวน 142 คน
ประธาน (อสม.) ตำบล,อำเภอ คือ นายกฤษฏิภาส เฉลาฉายแสง ประจำหมู่ที่ 1
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 9 แห่ง ได้แก่
กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลชำฆ้อ จำนวน 1 แห่ง
5)กีฬา สนามฟุตบอล 4 แห่ง หมู่ที่ 1,3,4,8
สนามตะกร้อ 4 แห่ง หมู่ที่ 1,3,4,8
สนามเด็กเล่น 4 แห่ง หมู่ที่ 1,3,4,8
6) ด้านสวัสดิการสังคม
การให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชรา คนพิการ ในเขตตำบลชำฆ้อ พ.ศ. 2557
ข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์(ข้อมูลคนพิการ ณ มกราคม 2557)
จำนวนผู้พิการ หรือทุพพลภาพรายเก่า จำนวน 67 คน
จำนวนผู้พิการ หรือทุพพลภาพที่ขึ้นทะเบียนใหม่ ปี 2558 จำนวน 12 คน
รวมจำนวนคนพิการ (ทั้งตำบล) 79 คน
จำนวนผู้ป่วยเอดส์ 8 คน
สภาพโครงสร้างพื้นฐาน
1) การคมนาคม
มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อกันทุกหมู่บ้าน มีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้านบางเส้นทาง และส่วนใหญ่ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้
ถนนสายหลัก
ถนนลาดยาง จำนวน 3 สาย ได้แก่
2) การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ประจำตำบล 1 แห่ง หมู่ที่ 3 ตรงข้ามเทศบาลตำบลชำฆ้อ(ไปรษณีย์รับอนุญาต)
ประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์บ้านในการ ติดต่อสื่อสาร
3) ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง
ไฟฟ้าในครัวเรือน มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทำเกษตร และจุดสาธารณะ
10. คลองส่งน้ำอ่างประแสร์
ประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง
แหล่งน้ำอุปโภค/บริโภค สำหรับแหล่งน้ำอุปโภค/บริโภค ตำบลลำประดามีประปาหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน 9แห่ง โดยทุกหมู่บ้านมีประปาหมู่บ้านอย่างน้อย 1 แห่ง